องค์การบริหารส่วนตำบลไชยสอ
อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
https://www.chaisor.go.th
นางสาวนัยนา  บรรดาศักดิ์
นางสาวนัยนา บรรดาศักดิ์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไชยสอ
099-396-3963
บุคลากร
ข้อมูลหน่วยงาน
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
online ขณะนี้
   คน
สถิติวันนี้
431   คน
สถิติทั้งหมด
147656   คน
เริ่มนับวันที่ 18 กันยายน 2558

พร้อมเปลี่ยน“ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลไชยสอ” เป็นสวนผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร 

ลงข่าว: 09/02/2566    0   271

พร้อมเปลี่ยน“ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลไชยสอ” เป็นสวนผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร

วันนี้ ( 9 ก.พ.66 ) นางสาวนัยนา  บรรดาศักดิ์  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไชยสอ อำเภอชุมแพ  จังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า ปัจจุบันพบว่า ความปลอดภัยทางด้านอาหาร โดยเฉพาะพืชผักจะมีสารเคมีตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก เราในฐานะผู้บริโภคคงทำได้เพียงล้างให้สะอาดก่อนรับประทาน หรือเลือกหาพืชผักที่ปลูกด้วยระบบอินทรีย์มารับประทานแต่ก็มักมีราคาสูงกว่าพืชผักทั่วไป ดังนั้นตนจึงได้มอบหมายให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลไชยสอ ใช้พื้นที่ว่างเปล่าข้างศูนย์เปลี่ยนเป็นสวนผักอินทรีย์ ปลอดสารพิษ ไว้รับประทาน  ภายใต้โครงการ กิจกรรมหนูน้อยปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างสุขนิสัยและแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยสู่ชุมชน

นางสาวผกาพันธ์ ยาปิ่น หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลไชยสอ เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้ปรึกษาหารือกับทาง นายก อบต.ไชยสอ ที่กำกับดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งนี้ จึงได้เริ่มดำเนินโครงการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเอง โดยลงมือทำเป็นตัวอย่างแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบทำอาหารกลางวันให้แก่เด็กนักเรียนวัย  2-5 ขวบ ที่ดูแลอยู่ประมาณ 25 คน รวมทั้งครูได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย อีกทั้งยังฝึกฝนให้เด็กรู้จักปลูกผัก รดน้ำพรวนดิน และกินผักที่ปลูกขึ้นเอง สร้างสุขนิสัยการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ตั้งแต่เล็กๆในขณะเดียวกันได้ชักชวนให้ผู้ปกครอง คนในหมู่บ้านหันมาปลูกผักไว้บริโภคในครัวเรือนด้วย

สำหรับกิจกรรม หนูน้อยปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างสุขนิสัยและแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยสู่ชุมชน  นอกจากเป็นการลดรายจ่ายไม่ต้องซื้อผักจากตลาดแล้ว ยังมีเป้าหมายหลักคือการสร้างความปลอดภัยด้านอาหารทั้งระบบ จากจุดเริ่มที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แผ่ขยายไปสู่หมู่บ้าน ชุมชน เพื่อให้ค่อยๆ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างการรับรู้ให้เกิดกับเด็กและผู้ใหญ่ ท้ายที่สุดก็จะนำไปสู่ค่านิยมการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของทุกวัย